รถไฟญี่ปุ่น ถึงแม้ระบบคมนาคมของประเทศญี่ปุ่นจะมีหลายทางให้เราเลือกใช้ในการเดินทาง ทั้งรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส รถเมล์ เรือ เครื่องบิน หรือแม้แต่การเช่ารถยนต์ขับ แต่ยานพาหนะที่ดูจะเป็นเส้นทางการคมนาคมที่ฮอตฮิต และสะดวกสบายที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ก็เห็นจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นอกจาก ‘รถไฟ’ ฉึกฉักๆ นั่นเอง
รถไฟบ้านเราอาจจะร้องฉึกฉักๆ นะ แต่รถไฟที่ญี่ปุ่นนี่เสียงเฟี้ยวฟ้าวเชียวนะ ยูววว์ ก็แหม… รถไฟบ้านเขาพัฒนาไป ไกลถึงขั้นชินคันซง ชินคันเซ็น หรือรถไฟ ความเร็วสูงกันแล้ว ในขณะที่รถไฟบ้านเรา ยังช้าเป็นเต่าคลานอยู่เลย ใครที่ยังไม่มี โอกาสได้ไปขึ้นรถไฟที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ โปรดอย่านึกเปรียบเทียบรถไฟญี่ปุ่นกับ รถไฟไทยเลยเชียวนะ เรื่องความเร็วไม่ ต้องพูดกันให้เมื่อยลิ้น เรื่องทัศนียภาพ ก็ ไม่ต้องเถียงกันให้เมื่อยตุ้ม ยิ่งเรื่อง ความปลอดภัยแล้วยิ่งไม่ต้องถกกันให้ กลายเป็นเรื่องยืดยาว เรามาปู พื้นฐานเกี่ยวกับรถไฟที่ประเทศญี่ปุ่นเสีย หน่อยดีกว่า แม้จะต้องอิงประวัติศาสตร์ นิดๆ มีกลิ่นอายวิชาการหน่อยๆ แต่ รับรองว่ามีประโยชน์ในการใช้เดินทางตะ ล่อนไปทั่วประเทศญี่ปุ่นอย่างแน่นอนเลย ทีเดียวเชียวละยูววว
รถไฟญี่ปุ่น ก่อนหน้าที่จะ มีการใช้รถไฟ ครั้งแรก ในประเทศญี่ปุ่น ยังคงมีการ คมนาคมหลัก เป็นการเดินเท้า และอาศัย แรงจากสัตว์ เช่น ม้า วัว เป็นส่วนใหญ่ รถไฟสายแรกในประเทศญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้น และเริ่มเปิดให้ใช้งานครั้งแรก ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1872
- เส้นทางแรกที่ถูกเปิดใช้ คือ สายโตเกียว – โยโกฮามา ซึ่งเริ่มจากสถานี Shimbashi ไปถึงสถานี Yokohama รวมระยะทาง 29 ก.ม. และ ใช้เวลาเดินทาง 35 นาที
- ส่วนเส้นทางที่สองที่สร้างเสร็จตามๆ กันมา คือ เส้นทางสายโกเบ – โอซาก้า ซึ่งมีการเปิดให้บริการในครั้งแรกเมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1874 และ ภายหลังได้มีการขยายจากโอซาก้า ไปจนถึงเกียวโตด้วย
- จากเมืองสู่เมือง ก็ได้กลายมา เป็นจากภูมิภาคสู่ภูมิภาค จากเส้นทางการเดินรถไฟบุกเบิก รุ่นแรกของญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ขยาย กลายเป็นเส้นทางจากโตเกียว สู่ภูมิภาคคันไซ คือ จากสถานี Shimbashi – สถานี Kobe รวมเรียกว่า ‘เส้นทางสายโทไคโด (Tokaido line
อุโมงค์โอซากายามะ (Osakayama Tunnel) เป็นอุโมงค์รถไฟ แห่งแรกของญี่ปุ่น มีความยาว 646 เมตร เชื่อมระหว่างเมืองเกียวโต (Kyoto) กับเมือง โอทสึ (Otsu) ซึ่งปัจจุบัน ไม่ได้ถูกใช้งานแล้ว
Nippon Railway สัมปทานการดูแลกิจการ รถไฟนั้น แต่เดิม รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแลเอง ทั้งหมด แต่เมื่อมีค่าใช้จ่าย เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้มีการอนุญาตให้ เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารกิจการ รถไฟ และบริษัทเอกชน เจ้าแรกที่ได้รับสัมปทาน ก็คือ บริษัท Nippon Railway
วิวัฒนาการประเภทรถไฟของประเทศญี่ปุ่น
รถไฟญี่ปุ่น รถไฟความเร็วสูง (Shinkansen) มีการเปิดให้ใช้งาน ครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1964 ซึ่งประเทศญี่ปุ่น ก็นับเป็นประเทศแรก ในโลกที่มีการสร้าง รถไฟความเร็วสูง ได้สำเร็จด้วย ถึงแม้ในอดีต การรถไฟของประเทศญี่ปุ่นจะเป็นธุรกิจที่ เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงสงครามครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็ได้ มีการรื้อถอนรางรถไฟออกไปใช้จำนวนมาก เพราะ ขาดแคลนเหล็ก แต่ภายหลังก็มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese National Railways : JNR) ที่มีความสำคัญ ในการปฏิรูปวงการรถไฟญี่ปุ่น
รถไฟ Shinkansen
แท้จริงแล้วไม่ได้แปลว่า รถไฟหัวกระสุน อย่างที่เราคุ้นหูกัน แต่แปลว่า ทางรถไฟสายใหม่ และคนญี่ปุ่นก็รัก รถไฟชินคันเซนของ ตัวเองมาก เพราะ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ช่วย กระตุ้นให้เศรษฐกิจ ของประเทศดีขึ้น ินคันเซนรุ่นแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่น คือ 0 Series Shinkansen ซึ่งสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เส้นทางแรกที่มีการเปิดซิงชินคันเซน คือ Tokaido Shinkansen เป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างโตเกียว และโอซาก้า ซึ่งตอนนั้นต้องใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงในการเดินทาง แต่ ปัจจุบันเราสามารถใช้เวลาเดินทางจากโตเกียวไปโอซาก้า เพียงแค่ 2 ชั่วโมง 25 นาทีเท่านั้นเอง
รถไฟแม็กเลฟ (Maglev)
ในอนาคตญี่ปุ่นมีแพลน จะเปิดใช้รถไฟแม็กเลฟ (Maglev) หรือรถไฟ พลังแม่เหล็กที่มี ความเร็วสูงถึง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง !! ซึ่งจะสามารถวิ่งจาก โตเกียวถึงนาโกยา โดย ใช้เวลาแค่ 40 นาทีเท่านั้น และมีแพลนจะเปิดให้ บริการในปี ค.ศ. 2027 รอกันไหวไหม?
ตรงเวลาที่สุดในโลก !! ใครๆ ก็รู้ว่าญี่ปุ่นขึ้นชื่อ เรื่องตรงเวลามากแค่ไหน จากสถิติความ คลาดเคลื่อนจากตารางเวลาของชินคันเซน พบว่า ชินคันเซนมีสถิติความล่าช้าไปจากตาราง เวลาเพียงแค่ 6 วินาทีเท่านั้นเอง โอ้ว แม่เจ้า ! ไปช้าเพียงเสี้ยววินาที ตกรถไฟ ได้เลยนะนี่ รถไฟญี่ปุ่นมีความ ปลอดภัยสูงมาก เพราะ นับตั้งแต่ได้กำเนิดเกิด เจ้าชินคันเซนมา ยังไม่เคย มีอุบัติเหตุที่เกิดจากรถไฟ ชนกัน หรือรถไฟตกราง เลยสักกะครั้งเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่า ไม่เคยมีคนเสียชีวิต ด้วยรถไฟ เพราะคนญี่ปุ่น นิยมฆ่าตัวตายโดยการ กระโดดให้รถไฟชนตาย มาเป็นอันดับหนึ่ง เลยทีเดียวเชียวละ
เส้นทางเดินรถไฟชินคันเซนในประเทศญี่ปุ่น
- Kyushu Shinkansen เส้นทาง สถานีฮากาตะ (Hakata station) – สถานี คาโกชิมา (Kagoshima station) ระยะทาง 256.8 km
- Sanyo Shinkansen เส้นทาง สถานีชินโอซาก้า (Shin – Osaka station) – สถานีฮากาตะ (Hakata station) ระยะทาง 553.7 km
- Joetsu Shinkansen เส้นทาง สถานีโอมิยะ (Omiya station) – สถานีนีงาตะ (Niigata station) ระยะทาง 269.5 km
- Tohoku Shinkansen and Yamagata, Akita Shinkansan เส้นทาง สถานีโตเกียว (Tokyo station) – สถานีชินอาโอโมริ (Shin – Aomori station) ระยะทาง 674.9 km
- Hokuriku Shinkansen เส้นทาง สถานีทาคาซากิ (Takasaki station) – สถานี นางาโนะ (Nagano station) Tokaido ระยะทาง 117.4 km
- Tokaido Shinkansen เส้นทาง สถานีโตเกียว (Tokyo station) – สถานีชินโอซาก้า (Shin – Osaka station) ระยะทาง 515.4 km
JR Rail Pass
JR Rail Pass คือ ตั๋วรถไฟแบบเหมาจ่ายของบริษัทรถไฟ ยักษ์ใหญ่อย่าง JR ซึ่งมีเพียง JR Pass ใบเดียว เราก็จะสามารถ ใช้ขึ้นรถไฟ รถบัส หรือเรือของ JR ได้ทั้งหมดทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง JR Pass มีทั้งหมด 3 แบบ คือ 7 วัน 14 วัน และ 21 วัน และสามารถซื้อได้จากนอกประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
JR ที่เรารู้จักกันดีนั้น ประกอบไปด้วย บริษัทย่อยอีก 6 บริษัท ซึ่งดูแลระบบ การเดินรถไฟในแต่ละภูมิภาค คือ JR Hokkaido / JR East / JR Central / JR West / JR Shikoku และ JR Kyushu กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น (Japan Railway Group) หรือที่เราคุ้นชิน กันในชื่อ JR เริ่มเข้ามา มีบทบาทในวงการรถไฟ ญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1987 เนื่องจาก JNR ขาดทุน ยับเยิน และก็ได้กลาย มาเป็นพี่ใหญ่ทางด้าน วงการรถไฟญี่ปุ่น มาจนถึงปัจจุบันนี้
ใครๆ ก็รู้ว่า ญี่ปุ่นเป็นชาติเจ้าพ่อกิมมิค แม้แต่รถไฟ คนญี่ปุ่นก็ยังดีไซน์รูปลักษณ์เสียจนกลายเป็นเอกลักษณ์ได้ เช่น รถไฟที่จะไปภูเขาไฟฟูจิ ก็ตกแต่งลวดลายออกมาเป็น รูปฟูจิซัง หรือรถไฟสายที่จะไปสถานีเหมียวทามะ ก็ตกแต่ง ลวดลายออกมาเป็นลายแมวเหมียว แหม… เห็นแล้ว มันก็อยากจะนั่งไป – กลับสักหลายสิบรอบจริงๆ
JR Yamanote Line 山 手 線
สำหรับเมืองหลวงอย่าง ‘โตเกียว’ แล้ว สายรถไฟ ที่ฮอตที่สุดคงต้องยกให้กับรถไฟสาย JR Yamanote ที่วิ่งวนเป็นวงกลมรอบเมือง ผ่านสถานที่ำคัญต่างๆ และรับ – ส่งผู้โดยสารมากถึงวันละประมาณ 3,600,000 คนเลยทีเดียว !! ื่องจากจำนวนผู้โดยสาร ที่เข้า – ออกสถานีต่างๆ มีจำนวนมาก เพราะ คนส่วนใหญ่นิยมเดินทาง โดยรถไฟ อย่าแปลกใจ หากจะเดินหลงทางใน สถานีรถไฟที่ญี่ปุ่น เพราะบางสถานี อย่างเช่น สถานี Shinjuku มีประตูทางออก มากถึง 200 ทางออกเลยทีเดียว ประเทศเจ้าไอเดีย อย่างญี่ปุ่น จึงมีความคิดที่จะ ฝังชิพลงในตัวคน เพื่อยกเลิก ระบบการเดินผ่านประตูกั้น ในอนาคตด้วย โอ้ว ! ล้ำลึก
มาหัดขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่นกันเถอะ
ประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ต่างไปจากบ้านเราที่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วย รถโดยสารสาธารณะต่างๆ ทั้งรถเมล์ รถไฟ รถไฟใต้ดิน หรือแม้แต่เรือ และรถยนต์ (เช่าขับ) – – สำหรับนักท่องเที่ยว หรือแม้แต่คนญี่ปุ่นเองแล้ว ยานพาหนะที่ดูจะเป็น ที่นิยมมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น ‘รถไฟ’ แต่ขอให้ลบภาพจินตนาการแบบ ‘รถไฟ ไทย’ ออกไปเสีย เพราะรถไฟญี่ปุ่นเขานำหน้าเราไปแล้ว 18 ปีแสง ซึ่งในที่นี่จะขอพูด ถึงเพียงแค่การเดินทางด้วย ‘รถไฟ’ เท่านั้น เพราะลำพังแค่รถไฟ เราก็สามารถ ไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้วละ – – เอาละ !! มาดูกันสิว่า ในประเทศญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยรถไฟแบบไหนบ้างนะ
1 รถไฟ (บนดิน)
ถ้าพูดกันแบบง่ายๆ รถไฟบนดินนี้ก็เหมือน รถไฟบ้านเรานั่นแหละ เพียงแต่ความเร็วมันจะ ผิดกันเยอะ ยิ่งสภาพรถรายิ่งไม่ต้องพูดถึง และส่วนใหญ่รถไฟบนดินนี้ก็จะใช้ในการโดยสาร ข้ามจังหวัด ข้ามภูมิภาคเสียเป็นส่วนใหญ่ โดย บริษัทที่ให้บริการเจ้าใหญ่ๆ ก็คือ กลุ่มบริษัท รถไฟญี่ปุ่น (Japan Railway Group) หรือที่เรา คุ้นชินกันในชื่อ JR นั่นเอง
2 รถไฟใต้ดิน
การเดินทางภายในเมืองที่ค่อนข้างใหญ่ และมีประชากร อาศัยอยู่หนาแน่นอย่างเช่น โตเกียว โอซาก้า มักจะมีระบบ คมนาคมเพิ่มจากรถไฟบนดินอีกอย่างหนึ่ง คือ รถไฟใต้ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถชอนไชไปตามสถานีต่างๆ ได้มากกว่า แต่รถไฟใต้ดินก็ ไม่ได้มีอยู่ทุกจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นนะ ส่วนใหญ่ก็จะใช้กันหลักๆ ในเมืองที่สำคัญๆ เท่านั้นเอง
3 รถราง
นอกจากรถไฟใต้ดินแล้ว บางจังหวัด ก็ยังคงมีการใช้รถรางเบา หรือรถแทรม (Tram) เป็นการคมนาคมหลักด้วย เช่น นางาซากิ เป็นต้น นอกจากจะมีรถไฟหลายแบบให้เลือกแล้วก็ยังแบ่งรถไฟออกตามชนิดของความเร็วอีกด้วย!!
- LOCAL จอดทุกสถานี ช้าที่สุด หรือที่เรา รู้จักกันในนาม ‘รถไฟหวานเย็น’
- RAPID จอดบางสถานี เร็วขึ้นมากว่า Local นิดนึง
- EXPRESSจอดน้อยสถานีค่อนข้างเร็ว
- LIMITEDEXPRESSจอดน้อยที่สุดเร็วที่สุด
JR Rail Pass คืออะไร
ทุกคนที่ไปญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้ JR Rail Pass ไหม?
JR Rail Pass หรือ JR Pass คือ ตั๋วรถไฟ แบบเหมาจ่ายของ บริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ อย่าง JR ซึ่งสามารถ ใช้ขึ้นรถไฟ รถบัส หรือ เรือของ JR ได้ทั้งหมด ทั่วประเทศญี่ปุ่น JR Pass จะมีทั้งหมด 3 แบบ คือ 7 วัน 14 วัน และ 21 วัน และสามารถซื้อได้จากนอก ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น คนญี่ปุ่นไม่สามารถมีใน ครอบครองได้ เมื่อเราถือ JR Pass ไว้ในมือ แค่แสดงกับเจ้าหน้าที่สถานี เราก็จะสามารถ ผ่านไปได้โดยง่าย คนไทยจึงนิยมเรียก JR Pass ว่า บัตรเบ่ง นั่นเอง
ชินคันเซน (Shinkansen) หรือที่เรารู้จักกันในนาม รถไฟหัวกระสุน ที่มี ความเร็วทะลุจักรวาลนั้น เป็นเสมือนรถไฟในฝันของใครหลายๆ คนทีเดียว อันที่จริงไม่ใช่คนที่ไปญี่ปุ่นจะมีโอกาสได้นั่งชินคันเซนกันทุกคนนะ เพราะ ค่าใช้จ่ายของเจ้าชินคันเซนนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ถึงแม้จะเร็วด่วนนรกเพียงใด แต่ถ้านั่งไป – กลับแค่เพียงจังหวัดเดียว อาจจะมีตัวฟีบเพราะค่าเดินทางที่สูง เกือบเท่าราคาค่าตั๋วเครื่องบินก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นชินคันเซนจึงมักเป็น เหมือนออฟชั่นเสริมของคนที่ถือ JR Pass เพราะจะสามารถใช้ขึ้นชินคันเซน ได้ฟรีด้วย แต่ทั้งน้ีทั้งนั้นก็จะไม่สามารถใช้ขึ้นได้ทุกขบวนนะ เพราะเราจะใช้ JR Pass ในการขึ้นชินคันเซนขบวน Nozomi กับ Mizuho ไม่ได้ (ต้องมีค่าใช้ จ่ายเพิ่ม) ใครที่อยากนั่งรถไฟหัวกระสุนนี้ดูสักครั้ง ก็ลองคำนวณค่าใช้จ่าย ในการเดนิทางดวูา่ จะคมุ้ไหมสำหรบัการซอื้ JR Pass สกัใบ หรอืซอื้ตวั๋ไป – กลบั สำหรับชินคันเซนสักขบวนหนึ่งเรื่องชวนปวดหัวอีกอย่างหนึ่งของรถไฟญี่ปุ่นก็คือ
ข้อมูล : All ABOUT JAPAN