งานวัดไทย กับ งานวัดญี่ปุ่น มีอะไรที่เหมือนหรือแตกต่าง? หากจะพูดถึง งานเทศกาลรื่นเริงในฤดูหนาว หนุ่มสาวในปัจจุบันมักจะมีชวนกันไป ลานเบียร์เฟสติวัลตามห้างสรรพสินค้า หรือ ตาม Avenue ต่างๆ หากย้อนเวลาไปในยุค คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย เทศกาลงานรื่นเริงประจำปี หรือ ในช่วงฤดูหนาวก็คือ “งานวัด”
งานวัดไทย
งานวัด คืองานบุญประจำปีที่ โดยแต่ละวัดจะกำหนดฤกษ์,ยาม,ข้างขึ้น ข้างแรม ถือวันมงคลในการจัดงานที่แตกต่างกันออกไป งานวัดนิยมจัดกันกลางแจ้ง เมื่อฤดูฝนผ่านไป ลมหนาวเข้ามาแทนที่ งานประจำปีของวัดต่างๆ ก็ทยอยจัดขึ้นในช่วงนี้ คนในยุคสมัยก่อนจึงถืองานวัดเป็นเทศกาลที่มากับฤดูหนาวโดยปริยาย แต่ที่ไหนมีผู้คนมารวมตัวกันมากๆ ก็จะมีศูนย์รวมความบันเทิงตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ของกิน การจำหน่ายสินค้า เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆ
เครื่องเล่นสำหรับสร้างความสนุกสนาน หรือความเป็นบันเทิง หากเปรียบในสมัยนี้ก็คงจะคล้ายๆ ห้างสรรพสินค้า เอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ในปัจจุบัน แม้ในปัจจุบันภาพบรรยากาศงานวัดแบบสมัยเก่าจะหายไปบ้าง แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่ตามต่างจังหวัด เพียงแต่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยบ้าง แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงานวัดไทย คือ ชิงช้าสวรรค์เครื่องเล่นคลาสสิคประจำงานวัด ม้าหมุน เครื่องเล่นที่เด็กๆชื่นชอบมาก แม้ในทุกวันนี้ทั้งชิงช้าสวรรค์และม้าหมุนก็ยังคงเป็นตัวพระเอกของงานวัดอยู่ (โดยเครื่องเล่นประเภทนี้เราได้รับอิทธพลมาจากชาวตะวันตกมากว่า 100 ปีแล้ว)
อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความบันเทิงที่ขาดไม่ได้ คือ หนังกลางแปลง ,โรงเมียงู , บ้านผีสิง ถือเป็นแหล่งรวมโชว์ไม่ว่าจะเป็นเด็ก 2 หัว ผีกระสือ ผีกระหัง เด็กประหลาด ที่ฟังชื่อแล้วแปลกมากจนต้องยอมเสียเงิน แต่พอจ่ายเงินเขาไปปรากฏว่าถูกหลอก 555
งานวัดญี่ปุ่น
แต่หากเราไปดูงานวัดของประเทศญี่ปุ่น แม้วัฒนธรรมประเพณีจะแตกต่างกับของไทย แต่สิ่งมีดูคล้ายกันคือ ที่ไหนมีผู้คนมารวมตัวกันมากๆ ก็จะมีศูนย์รวมความบันเทิงตามมาด้วย หากเทียบกันแล้ววิธีการคล้ายๆกัน มี การขายของกิน การเกมส์ให้เล่น ตกปลา ยิงปืน แต่ที่ญี่ปุ่นไม่มีคือ การตั้งแผงขายเสื้อผ้า ชิงช้าสวรรค์และม้าหมุน
เทศกาลฉลองวันปีใหม่ หรือ เทศกาลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา พิธีกรรม ผู้คนพากันไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้สุขภาพดี และมีความสุขตลอดไป เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนประชากรมากกว่าบ้านเราเท่าตัว ทำให้เราจะเห็นคนมางานวัดจำนวนมาก โดยเฉพาะเทศกาลฉลองวันปีใหม่
แต่หากเป็นงานเทศกาลประจำจังหวัด คนจะมีไม่มากเท่ากับเทศกาลฉลองวันปีใหม่ ที่ต่างอีกอย่างคือ ในฤดูร้อนของญี่ปุ่นเป็นช่วงที่มีเทศกาลมัตสึรึ หรือ “งานวัด” มากที่สุด ศาลเจ้าและวัดต่างๆ จะมีการจัดงานอย่างคึกครื้นเพื่อให้ชาวบ้านได้เที่ยวเล่นคลายร้อน และที่สำคัญ คือมีแผงร้านอาหารมากมาย เช่น
ผลไม้เคลือบน้ำตาล
ขนมที่มีต้นตำรับจากประเทศจีน โดยนำผลไม้มาชุบน้ำเชื่อมและทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมแข็งตัว รสหวานของน้ำเชื่อมตัดกับรสเปรี้ยวของผลไม้ ผสมผสานกับความกรุบกรอบของน้ำเชื่อมที่แข็งตัว
ปลาหมึกย่าง
ปลาหมึกย่างที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีให้เลือกแบบย่างเกลือและย่างซอส และมีความเหนียวนุ่มมากกว่าปลาหมึกย่างที่ไทย
ทาโกะยากิ
แป้งลูกกลมๆขนาดพอดีคำ ด้านในมีไส้ปลาหมึกยักษ์ (ใหญ่มากๆ) หอมนุ่มเต็มปากเต็มคำ ระยะหลังมีผู้ดัดแปลงไส้ของทาโกะยากิโดยใส่แฮม, ผักรวม, ปูอัด ฯลฯ ซึ่งก็มีรสชาติที่พิเศษไปอีกแบบ
บ้านผีสิง คล้ายๆกับบ้านเรา คือ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด อาจเป็นเพราะเรื่องราวผีญี่ปุ่น สู้ผีบ้านเราไม่ได้ โหดกว่า ดุกว่า น่ากลัว กว่าก็เป็นได้ แต่ยอมรับของเขาสะอาดจริงๆ บ้านเราจะดูรกๆ และไม่เนียนเท่าเขา
เห็นแบบนี้แล้วคงอยากไปเที่ยวงานวัดญี่ปุุ่นใช่ไหม แต่อย่าเพิ่งน้อยใจ จริงๆงานวัดบ้านเราก็มีเสน่ห์ไม่แพ้ของญี่ปุ่นเช่นกัน เพียงแต่หยิบเรื่องวัฒนธรรมที่อาจจะต่างกันออกไป แต่สังเกตุดูดีๆ การดำรงวิถีชีวิตรูปแบบงานวัดคล้ายๆกัน อาจเป็นเพราะศาสนาที่เหมือนกัน มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจก็เป็นได้…