เทศกาลฮิบุริ คามาคุระ บูชาเทพเจ้าแห่งไฟ จ.อาคิตะ ประเทศญี่ปุ่น

เทศกาลฮิบุริ อยู่ในจังหวัดอะคิตะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ของญี่ปุ่น ด้านตะวันตกหันหน้าไปทางทะเลญี่ปุ่นและอุดมไปด้วยแม่น้ำ, พื้นที่ราบ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ มีภูเขาสูงล้อมรอบภาคเหนือ, ภาคใต้ และภาคตะวันออก ในช่วงฤดูหนาวพื้นที่บนแผ่นดินปกจะคลุมไปด้วยหิมะที่ตกหนักมีงานเทศกาลพิธีเฉลิมฉลองที่เป็นประเพณีโบราณ และงานเทศกาลที่มีเอกลักษณ์ของตนเองมากมายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว มีเทศกาลถึง 7 เทศกาลที่น่าตื่นเต้น 

cropped-dsc02239.jpg

หากพูดถึงจังหวัดอาคิตะในประเทศญี่ปุ่น

หลายคนคงจะพอคุ้นหูอยู่บ้าง แต่สำหรับบางคนอาจไม่รู้จัก จริงๆแล้วจังหวัดนี้ จังหวัดอาคิตะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ของญี่ปุ่น สามารถใช้ Jr pass เดินทางจากโตเกียว โดยนั่งรถไฟ SHINKANSEN มาลงได้ที่ AKITA ได้เลย จังหวัดนี้อุดมไปด้วยแม่น้ำ ทะเลสาบ พืชพรรณธรรมชาติ มีสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาในจังหวัดอาคิตะ คือมีมุมมองที่แตกต่างหลากหลายในความงามของธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวญี่ปุ่นมากมาย อย่าง ทะเลสาบทาซาวะ หรือ ทาซะวะโกะ เหมาะสำหรับ คนที่อยากเดินทางเที่ยวแบบไม่ซ้ำรอยคนอื่น หรือใครที่ไม่รู้จะเที่ยวญี่ปุ่นเดือนไหนดี แนะนำลองมาที่จังหวัดนี้ได้ทุกฤดูกาล

DSC02330_fb

จังหวัดอาคิตะเป็นเมืองที่มีงานเทศกาล พิธีเฉลิมฉลองที่เป็นประเพณีโบราณและงานเทศกาลที่มีเอกลักษณ์ของตนเองมากมายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว มีเทศกาลถึง 7 เทศกาลที่น่าตื่นเต้น ฮิบุริ คามาคุระ (Hiburi Kamakura) เป็น 1 ใน 7 เทศกาลช่วงฤดูหนาว เรียกง่ายว่า เทศกาลแห่งการร่ายรำของวงแหวนไฟ จัดอยู่ในช่วงระหว่างเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ (ขึ้นอยู่ แต่ละปี ) เมือง Semboku-City,Kakunodate-town เทศกาลนี้ มประวัติเริ่มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1949

DSC02260_fb

แต่ประเพณีนี้ได้หยุดหายไปเป็นเวลาประมาณ 40 ปี จนกระทั่งนำกลับมาสืบทอดกันใหม่ในปี ค.ศ.1989 โดยมีความเชื่อที่ว่า เมื่อได้ร่ายรำวงแหวนไฟจะทำให้เทพเจ้าไฟ ดลบันดาลพรให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ครอบครัวอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

DSC02256_fb

DSC02277_fb

DSC02320_fb

วิธีการร่ายรำ

วิธีการ นำกระสอบฟางถ่านมามัดด้วยเชือกยาวประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นจะจุดไฟที่ถ่านจับปลายเชือกแล้วเหวี่ยงไปรอบๆตัว จนกว่าไฟจะเผากระสอบฟางหมดท่ามกลางอากาศที่หนาว ทำให้บริเวณลานแสดงการร่ายรำวงแหวนไฟ อุ่นขึ้นมาทันที่เพราะไม่เพียงแต่ชาวบ้าน แต่นักท่องเที่ยวก็สามารถลองการร่ายรำวงแหวนไฟนี่ได้เช่นกัน เทศกาลนี้ได้รับความนิยมจากช่างภาพทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่ช่างภาพต่างชาติ ก็เดินทางเพื่อมาถ่ายภาพวงแหวนไฟโดยเฉพาะ

DSC02268_fb

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการจุดกองไฟ ซึ่งมีหลายจุดในลานกว้าง เพื่อให้ชาวบ้านที่ต้องการร่ายรำวงแหวนไฟ นำกองฟางห่อด้วยกระสอบมาจุดไฟ  แล้วเหวี่ยงไปรอบๆตัวเอง ผู้คนจำนวนมาก มารอต่อคิวเพื่อทำการร่ายรำ เพราะการร่ายรำเหวี่ยงกระสอบไฟนั้น กินรัศมีประมาณเกือบ 2 เมตร จึงไม่สามารถทำการร่ายรำ ได้ทีละหลายๆคน อันเกิดอันตรายได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด

DSC02341_fb

DSC02330_fb

เทศกาล Rokugo no Takeuchi

อีกหนึ่งเทศกาลแห่งไฟของจังหวัดอาคิตะ ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจัดอยู่ในช่วงเดียวกับเทศกาลฮิบุริ คามาคุระ   จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์  คือเทศกาล Rokugo no Takeuchi เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งไฟ พร้อมกับเฉลิมฉลองงานประเพณีที่สืบทอดมายาวนานกว่า 700 ปี และจุดที่น่าสนใจสำหรับคนที่มาชมภายในงาน คือ การต่อสู้ด้วยไม้ไผ่ ชาวบ้านในพื้นที่ Ushukaidou จะถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายทางเหนือและฝ่ายทางใต้  ทั้งสองฝ่ายจะมีจำนวนเท่าๆกัน ประมาณเกือบฝั่งละ 40 คน ทุกคนจะมีไม้ไผ่เป็นอาวุธสำหรับการต่อสู้กัน ไม้ไผ่ยาว 7-8 เมตร

DSC03069_fbDSC03057_fb

เมื่อถึงเวลาต้องต่อสู้กันจะมีการจุดกองไฟที่อยู่บริเวณตรงกลาง เป็นจุดแบ่งเขต  ของฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้  โดยวิธีการจะมีกรรมการเป็นผู้ให้สัญญาณ  สำหรับกติกาจะแข่งกัน 3 รอบ เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมให้เข้าประจำที่ ในเขตของตนเอง และเตรียมไม้ไผ่ให้พร้อม ต้องสวมชุดหมวกป้องกันให้เรียบร้อย  พอกรรมการให้สัญญาณ เสียงกริ่งเสียงดังขึ้น ชาวบ้านทั้งสองฝ่ายเหนือ และ ฝ่ายใต้ ต้องวิ่งเข้าให้กันฟาดไม้ไผ่ใส่ฝั่งตรงข้าม โดยต้องพยายามเข้าไปอยู่ในฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด กรรมการจะเป็นผู้ตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชนะในรอบนั้นๆ

DSC03074_fb

เทศกาลนี้เป็นการต่อสู้กันจริงๆ ไม่ใช่การแสดง บางจังหวะถึงขั้นชกต่อยกันก็มี จนเพื่อนๆต้องเข้ามาห้าม สาเหตุที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า เชื่อว่าถ้าฝ่ายเหนือชนะพืชผลเกษตรจะอุดมสมบูรณ์ และถ้าฝ่ายใต้ชนะเชื่อว่าราคาข้าวจะเพิ่มสูงขึ้น เอาจริงๆ ฝ่ายไหนชนะก็เป็นผลดีความกันหมด แต่สิ่งที่แข่งกันคือเรื่องของศักดิ์ศรีต่างหาก  หลังจากต่อสู้กันครบ 3 รอบ คณะกรรมการจะเป็นผู้ประกาศว่าใครชนะในแต่ละรอบ เหมือนการประกาศคะแนนของกีฬามวย  เมื่อรู้ผลแพ้ชนะแล้ว ชาวบ้านจะมาร่วมตัวกันนำแผ่นกระดาษ 5 สี ที่เขียนคำอธิฐาน โยนลงไปในกองไฟเพื่อให้คำอธิฐานไปถึงเทพเจ้าแห่งไฟ เป็นอันจบ

DSC03061_fb

เทศกาล Rokugo No Kamaura  นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ดูแปลกตา แต่ก็ทำให้เราได้รู้ว่า ไม่ว่าจะส่วนไหนของโลกใบนี้ ความเชื่อ ความศรัทธา ก็ยังคงอยู่ควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตของเรา

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.